วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


Mind mapping






หน่วย : นักประดิษฐ์น้อยกับของเล่นแสนสนุก

Big Question (คำถามหลัก) นักเรียนจะประดิษฐ์ของเล่นเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่นให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

ภูมิหลังที่มาของปัญหา  :  ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้การดำรงชีวิตหรือวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปจากที่เคยทำงานที่บ้านก็ไปทำงานต่างจังหวัด จากที่เคยเลี้ยงลูกเองก็ต้องฝากปู่ ย่า ตา ยายหรือเนอสเซอรี่ต่างๆ ซึ่งบางบ้านบางสถานที่ยังไม่เห็นความสำคัญของพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะช่วงปฐมวัยที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือบุคคลรอบข้าง แต่ส่วนมากเด็กๆ จะถูกเลี้ยงด้วยของเล่นที่ทันสมัย เช่น สมาร์ทโฟนต่างๆ ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้เด็กเล่นเองตามลำพังเพราะเห็นว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วเด็กมีสมาธิ จดจ่อ ง่ายต่อการเลี้ยงดู แต่ในความเป็นจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยวิธีนี้ส่งผลกระทบให้เด็กและผู้ปกครองขาดการมีปฏิสัมพันธ์ เพิ่มช่องว่างในการทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม
ดังนั้น คุณครูจึงตระหนักถึงปัญหาจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL หน่วยของเล่น เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและผู้ปกครองในการสร้างปฏิสัมพันธ์จากการเล่นที่เหมาะสม

 เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจวิธีการและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุต่างๆ เพื่อตนเองและผู้อื่น เห็นความสำคัญของของเล่น รวมทั้งการเลือกของเล่นที่เหมาะสมกับวัยของตนเองตลอดจนการยอมรับในข้อตกลงในการเล่นร่วมกับผู้อื่น









ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ PBL (Problem Based   Learning)
หน่วย : “ นักประดิษฐ์น้อยกับของเล่นแสนสนุก”

ระดับชั้นอนุบาล 2  (Quarter 4) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

Week
lnput
Process
Output
Outcome
1

โจทย์ :
- สร้างแรงบัลดาลใจ
- พับ/ม้วน  ตุ๊กตาผ้า
ป๋องแป๋ง
 Key  Question
 เราอยากเรียนรู้อะไร  เพราะอะไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนูและป๋องแป๋ง
ชักกะเย่อความคิด
Show and Learn : 
นำเสนอตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “เจ้าหมีสีชมพูกับของเล่นชิ้นใหม่”
- สื่อจริง “ผ้าขนหนูหนังยาง เหรียญ เชือก ก้อนหิน ถ้วยน้ำพลาสติก หลอด ด้าย ถุงพลาสติก ไม้หนีบผ้า แท่งไม้ ผ้า แกนกระดาษทิชชู ”
- ครูเล่านิทานเรื่อง “เจ้าหมีสีชมพูกับของเล่นชิ้นใหม่” เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนูพร้อมตกแต่งให้สวยงาม
- นักเรียนเล่นบทบาทสมมติกับตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนูที่ทำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำป๋องแป๋ง
- นักเรียนทดลองเล่นป๋องแป๋ง
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำตุ๊กตาหมีจากผ้าและป๋องแป๋ง
- นักเรียนเลือกสิ่งที่ชอบระหว่างป๋องแป๋งกับตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนู  พร้อมบอกเหตุผล
- นักเรียนเขียนขั้นตอนการทำของเล่นจากที่ตนเองชอบและเลือกลงในสมุด
- นักเรียน Show and Learn ตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนู
- นักเรียนนำของเล่นที่ชอบมากที่สุดจากบ้านมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ (เป็นอะไร/ทำไมถึงชอบ/ได้มาอย่างไร/เล่นอย่างไร/เก็บอย่างไร)
- สลับเปลี่ยนกันและกันเล่นของเล่นที่นำมา
- ครูนำสิ่งของหลากหลายชนิดทั้ง หนังยาง เหรียญ เชือก ก้อนหิน ถ้วยน้ำพลาสติก หลอด ด้าย ถุงพลาสติก ไม้หนีบผ้า แท่งไม้ ผ้า แกนกระดาษทิชชู มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “คืออะไร/ทำเป็นของเล่นได้อย่างไร”
- นักเรียนเลือก 1 อย่าง เพื่อทำเป็นของเล่นพร้อมนำเสนอการเล่นให้เพื่อนๆ ฟัง
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- ร่วมกันทำตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนู
- เล่นบทบาทสมมติกับตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนูที่ทำ
- ร่วมกันทำป๋องแป๋ง
- ทดลองเล่นป๋องแป๋ง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำตุ๊กตาหมีจากผ้าและป๋องแป๋ง
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำของเล่นจากวัสดุต่างๆ
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
ตุ๊กตาหมีจากผ้าขนหนู
 ป๋องแป๋ง
- เขียนขั้นตอนการทำของเล่นจากที่ตนเองชอบและเลือกลงในสมุด
- ของเล่นจากวัสดุต่างๆ ที่ทำขึ้นเอง
ความรู้
สามารถแสดงความคิดเห็นถ่ายทอดประสบการณ์บอกเล่าเรื่องราวให้คนอื่นรับฟังได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
 - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
2


โจทย์ :
- เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
บูมเมอแรง
Key  Question
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดเพราะอะไรจึงอยากเรียนเรื่องนั้น?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำของเล่นบูมเมอแรง
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นทราย เล่นน้ำ
ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่น
Card & Chart : นักเรียนวาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
Blackboard  Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Wall Thinking : สิ่งที่อยากเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
ครูและนักเรียนร่วมกันทำของเล่นบูมเมอแรงเพื่อสร้างแรงให้อยากเรียนรู้เรื่องของเล่นมากขึ้น
- ครูและนักเรียนสร้างข้อตกลงในการเล่น
บูมเมอแรงร่วมกัน
- นักเรียนทดลองเล่นบูมเมอแรง
- ครูพานักเรียนเล่นกับเงา (แสงจากดวงอาทิตย์) โดยนักเรียนทำท่าทางต่างๆ ให้เกิดภาพเงาบนพื้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร”
- ครูพานักเรียนเล่นกับทรายหรือพื้นดิน เช่น วาดภาพตามคำสั่งบนพื้นดิน พิมพ์รอยเท้า มือ บนดิน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร/เล่นแล้วต้องทำอย่างไร”
- ครูพานักเรียนเล่นน้ำ โดยหาวัตถุต่างกันมาลอยน้ำแล้วสังเกตว่าลอยหรือจม เป็นเพราะอะไร แล้วกรอกน้ำ ตวงน้ำ นับจำนวน เป่าฟองสบู่ที่เติมน้ำ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเล่นแล้วรู้สึกอย่างไร/เล่นอะไรได้อีก/จะเล่นให้สนุกและปลอดภัยได้อย่างไร”
ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนวาดภาพเรื่องที่อยากเรียนรู้ 1 เรื่อง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ โดยการนำ Card & Chart ที่นักเรียนวาดมาจัดเป็นกลุ่ม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard  Share
- ตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้โดยใช้วัสดุที่หลากหลาย (เป็นวัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นได้)
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่น
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่เกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำบูมเมอแรง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นทราย เล่นน้ำ
ชิ้นงาน
- วาดภาพสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นำเสนอขั้นตอนการทำ
บูมเมอแรง
- บูมเมอแรง
- ตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้จากวัสดุต่างๆ
ความรู้
นักเรียนเข้าใจ สามารถบอกและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมอธิบายให้เหตุผลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
    - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



    3
โจทย์ :
กบอ๊บๆ  กระโดดไกล
(พับกบและพับกระดาษ)
Key  Question
 กระดาษเป็นของเล่นได้อย่างไร
 เราจะเล่น/ดูแล/เก็บ  ของเล่นจากกระดาษอย่างไร
ข้อดี/ข้อเสีย  ของเล่นจากการพับ
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพับกบอ๊บๆ  กระโดดไกลและการประชัน
Show and Learn : นำเสนอกบกระดาษ ,เรือกระดาษ ,จรวดกระดาษ ,หุ่นมือชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ต้นข้าววิเศษ” เล่าไปพับไป (เรือ)









- ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นข้าววิเศษ” เล่าไปพับไป (เรือ)
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ครูและนักเรียนร่วมกันพับกบกระดาษแล้วตกแต่งให้สวยงาม
- นักเรียนประชันกบกระโดดไกลโดยคาดเดาว่าตัวไหนจะกระโดดไกล/ของตนเองจะกระโดดได้เท่าไหร่ เมื่อกระโดดแล้ววัดระยะทางโดยใช้อุปกรณ์การวัดง่ายๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพับกบกระดาษและการประชันกบกระโดดไกล
- ครูและนักเรียนร่วมกันพับจรวดกระดาษ หุ่นมือถุงกระดาษ
- นักเรียนทดลองเล่นจรวดกระดาษ หุ่นมือถุงกระดาษ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำกระดาษไปทำเป็นของเล่นในรูปแบบอื่นๆ
-  นักเรียนออกแบบพร้อมสร้างของเล่นจากกระดาษในรูปแบบที่นักเรียนต้องการมา แล้วนำมา  Show  and  Learn ให้เพื่อนและครูฟัง
- นักเรียนเขียนความรู้สึกที่ได้จากกิจกรรมการพับกระดาษลงในสมุด
กบกระดาษ
เรือกระดาษ
จรวดกระดาษ
หุ่นมือ
ภาระงาน
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพับกบกระดาษ
พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำกระดาษไปพับเป็นของเล่นต่างๆ
- ร่วมกันพับกบกระดาษ
- ร่วมกันพับจรวดกระดาษ หุ่นมือ
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
- กบกระดาษ
- เรือกระดาษ
- จรวดกระดาษ
หุ่นมือ
- เขียนความรู้สึกที่ได้จากกิจกรรมการพับกระดาษลงในสมุด
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถนำกระดาษมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างเหมาะสมพร้อมทั้งรู้วิธีการเล่น ดูแลและเก็บรักษาของเล่นได้
( วิทยาศาสตร์ : โครงสร้าง แรง ทิศทาง ระยะทาง ความสมดุล การจมการลอย)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

4
 โจทย์ :
มงกุฎเจ้าชาย/เจ้าหญิง  (จากธรรมชาติ)
Key  Question
 วัสดุธรรมชาติเป็นของเล่นได้อย่างไร
 เราจะเล่น/ดูแล/เก็บ  ของเล่นจากธรรมชาติอย่างไร
ข้อดี/ข้อเสีย  ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากธรรมชาติ
Show and Learn : นำเสนอมงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย ,กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้า
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน

- ครูเล่านิทานเรื่อง “เจ้าหญิงดอกไม้กับเจ้าชายสายลม”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันออกแบบมงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย
- นักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำมงกุฎ
- นักเรียนร่วมกันทำมงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย
กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ
- Show  and  Learn มงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย ,กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้า
ภาระงาน
- พูดคุยสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำมงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย
กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ
- พูดคุยสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบของเล่นจากธรรมชาติ
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำมงกุฎ
- ร่วมกันทำมงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย ,กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ
- Show  and  Learn มงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย,กระโปรง ,กระเป๋า ,รองเท้า
ชิ้นงาน
- มงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย
- กระโปรง
- กระเป๋า
- รองเท้า
 ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้วิธีการเล่น ดูแลและเก็บรักษาของเล่นได้
(คณิตศาสตร์ : อนุกรมแบบรูป จำนวน การวัด)
(วิทยาศาสตร์ : ใบเลี้ยงคู่ เลี้ยงเดี่ยว)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
5 - 6

 โจทย์ :
หนังสือนิทานผ้า
Key  Questions
 ผ้าเป็นของเล่นได้อย่างไร
 เราจะเล่น/ดูแล/เก็บ  ของเล่นจากผ้าอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากผ้า
Show and Learn : นำเสนอหนังสือนิทานผ้า
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- สื่อจริง “ผ้ามัดย้อม”
- ครูและนักเรียนเล่นเกมผ้าแปลงร่าง โดยครูมีผ้ามาให้แล้วให้นักเรียนเลือก 1 อย่าง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ผ้านำมาทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง”
- นักเรียนแปลงร่างผ้าให้เป็นของเล่น
- นักเรียนเลือก คน พืช สัตว์ สิ่งของ ที่ชอบพร้อมวางแผนออกแบบ
- นำสิ่งที่ออกแบบมาเย็บเป็นตุ๊กตาโดยใช้ผ้าสำลียัดใยโพลีเอสเตอร์
- นักเรียนทดลองเล่นตุ๊กตาของตนเอง
-  ครูและนักเรียนร่วมกันออกแบบหนังสือนิทานที่ทำจากผ้า
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำผ้ามัดย้อม
- นักเรียนทำหนังสือนิทานจากผ้าที่มัดย้อมโดยใช้ใยสังเคราะห์ยัดข้างใน
- นักเรียนนำตุ๊กตาที่มีมาทั้งหมดมารวมกันติดปะภาพลงในหนังสือนิทานผ้า
- นักเรียนร่วมกันแต่งนิทาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดทำเป็นรูปเล่มหนังสือนิทานผ้า
ภาระงาน
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบหนังสือนิทานที่ทำจากผ้า
- ร่วมกันทำผ้ามัดย้อม
- ร่วมกันทำหนังสือผ้าที่มัดย้อมโดยใช้ใยสังเคราะห์ยัดข้างใน
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบตัวละครในนิทาน
- ร่วมกันทำตัวละครในนิทาน
- ร่วมกันแต่งนิทานและจัดทำเป็นรูปเล่ม

ชิ้นงาน
- หนังสือนิทานผ้า
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถนำผ้ามัดย้อมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
( ศิลปะ: การผสมสี การออกแบบมัดย้อม ลวดลาย)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
 ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
7
โจทย์ :
ปั้นๆ  เมืองของเล่น
Key  Question
 ของเล่นจากการปั้นทำได้อย่างไร
เราจะเล่น/เก็บ/ดูแลของเล่นจากการปั้นอย่างไร
ข้อดี/ข้อเสีย  ของเล่นจากการปั้น
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากการปั้น
 Show and Learn :
นำเสนอของเล่นที่ชอบ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- สื่อจริง “ดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว”
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- นักเรียนออกแบบของเล่นที่ชอบลงในสมุด
- นักเรียนร่วมกันปั้นของเล่นที่ชอบจากดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- Show  and  Lean ของเล่นที่ชอบ
- นักเรียนนำของเล่นที่ปั้นมาจัด Model จำลองเป็นเมืองของเล่น















ภาระงาน
- ร่วมกันทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- ร่วมกันปั้นของเล่นที่ชอบจากดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- ร่วมกันนำของเล่นที่ปั้นมาจัด Model จำลองเป็นเมืองของเล่น
- Show  and  Lean ของเล่นที่ชอบ
ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดภาพของเล่นที่ชอบลงในสมุด
- ของเล่นจากดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- Model จำลองเมืองของเล่น
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามรถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นของเล่น พร้อมทั้งรู้จักวิธีทำ วิธีการเล่น รู้ข้อดีข้อเสียของวัตถุดิบที่นำมาปั้น นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
(คณิตศาสตร์ : การตวง )
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
8 - 9
โจทย์ :
บทบาทสมมุติ  (เล่นสมมุติ)
Key  Question
- เราอยากแปลงร่างเป็นอะไร/ทำได้อย่างไร
 เราจะเล่นกับผู้อื่นได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นสมมุติ
Show and Learn :
นำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน


ครูแสดงบทบาทสมมุติให้นักเรียนทาย
- ครูเล่าเรื่องราวตัวละครที่ชื่นชอบในวัยเด็กให้นักเรียนฟังเพื่อสร้างแรง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้านักเรียนแปลงร่างได้ นักเรียนอยากแปลงร่างเป็นใคร เพราะอะไร”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
-  นักเรียนนำเสนอในการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็นเพื่อช่วยเสนอแนะ เพิ่มเติม
นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากจะเป็น
นักเรียนร่วมกันทำชุดของตัวละครที่ออกแบบไว้พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
-  Show  and  Lean ชุดตัวละครของแต่ละคน
- นักเรียนร่วมเล่นบทบาทสมมติ











 ภาระงาน
- ร่วมกันวางแผนออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบ
- ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบ
- นำเสนอในการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบเพื่อช่วยเสนอแนะ เพิ่มเติม
- ร่วมกันทำชุดของตัวละครที่ออกแบบไว้พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
- Show  and  Lean ชุดตัวละครของแต่ละคน
- เล่นบทบาทสมมติ

ชิ้นงาน
- วาดภาพออกแบบชุดตัวละครลงในสมุด
- ชุดตัวละครที่ชอบและอยากเป็น
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถวางแผน ออกแบบชุดพร้อมทั้งแสดงบทบาทสมมติให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ศิลปะ : ออกแบบ การเลือกวัสดุ)
(คณิตศาสตร์ : การวัด ขนาด รูปร่าง)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


10






















โจทย์
สรุปองค์ความรู้
นิทรรศการ
- การแสดงละคร
Key  Questions
เราจะสรุป/ถ่ายทอดความเข้าใจจากสิ่งที่เรียนได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ หน่วย 
Wall  Thinking :                 
 ใบงานเขียน  Mind  Mapping  สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ หน่วย ของเล่น
Show and Learn: 
นำเสนอชิ้นงาน web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน




- ครูและนักเรียนร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter 4
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหน่วย “ของเล่น”
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้หลังเรียนในรูปแบบ  Mind Mapping
- ครูและนักเรียนร่วมกันออกแบบการจัดนิทรรศการ
- ซ้อมการแสดง ละคร/ เต้นประกอบเพลง
- เปิดบ้านจัดนิทรรศการ








ภาระงาน
นิทรรศการ
- การแสดงละคร
- เวทีประกวดตัวละครที่ชอบ
ชิ้นงาน
ใบงานเขียน web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้













ความรู้
นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ผ่านการพูดอธิบายสื่อความหมายพร้อมทั้งสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหน่วย “ของเล่น” ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสังเกต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
-  

ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ
หน่วย “ นักประดิษฐ์น้อยกับของเล่นแสนสนุก  ระดับชั้นอนุบาล ประจำ Quarter 4  
ปีการศึกษา  2/2559

สาระการเรียนรู้
พัฒนาการ
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1.สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ เผชิญกับปัญหา
2.  เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
  - ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
 - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
3. ประดิษฐ์ของเล่น
 (ของเล่นจากกระดาษ)
-  พับจรวด
-  พับเรือ
-  พับกบ
-  เปเปอร์มาเช่กระดาษ
(ของเล่นจากธรรมชาติ)
- มงกุฎเจ้าหญิง/เจ้าชาย
(ของเล่นจากผ้า)
ผ้ามัดย้อม
- หนังสือนิทานผ้า 
ตุ๊กตาหุ่นไม้จากถุงเท้า
- ตุ๊กตาผ้า
( ของเล่นจากการปั้น)
- ปั้นแป้งโดว์
- ปั้นดินญี่ปุ่น
- ปั้นดินน้ำมัน
- ปั้นดินเหนียว
- ปั้นแป้ง
- ฯลฯ
4. เล่นบทบาทสมมติ
5. สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

ด้านร่างกาย
    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  
ขีดเขียน  วาดภาพบุคคลระบายสีไม้สีเทียนเล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสีปั้นดินน้ำมันฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นต่อเติมภาพตามจินตนาการประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแล้วและประสานสัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่  การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
 -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
 -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง 
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
-  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
    -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ
มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและ
ช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง
ด้านสังคม
    - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
   -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  
   -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น

พัฒนาการด้านสังคม 
มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ด้านสติปัญญา
    -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
    -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราว
เกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
    - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา    
มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 


ตาราง เชื่อมโยงหน่วย  “นักประดิษฐ์น้อยกับของเล่นแสนสนุก ”  กับพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน

ด้านร่างกาย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  -  ขีดเขียน  วาดภาพ              
  -  ระบายสีไม้ สีเทียน  ฝนสี
  -  ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์
  - ฉีก  ปะ ตัด ติด
  - ขยำกระดาษ         
  - ตัดกระดาษตามเส้น
  - พับกระดาษ         
  - ต่อเติมภาพตามจินตนาการ
  - ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้
  - ประกอบอาหาร  
  - เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี  พับสี ฉีดสี กลิ้งสี  พิมพ์สีฯลฯ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- เล่นเครื่องเล่นสนาม
-  เล่นกีฬา  เกมการละเล่น  เช่น  การโยน-รับลูกบอล  เป็นต้น
-  การเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  ประกอบคำบรรยาย  เป็นต้น
-  กระโดดขาเดียว  กระโดดสองขา
-  การประดิษฐ์ชิ้นงาน  หรือการทดลอง
-  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด
-  การดึง  การดัน  การจับ  การขว้าง  การเตะ
-  การเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่างๆ
ความสัมพันธ์มือ-ตา
-  การขีดเขียน   การวาดตามแบบ
-  การร้อย
-  การต่อบล็อก
-  การระบายสี
-  การติดกระดุม
-  การหยิบจับสิ่งของ
-  การเล่นเกม  กีฬา  เช่น  การรับ-การโยน
-  การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น  การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่รองเท้า  ถุงเท้า  เป็นต้น
-  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
ด้านอารมณ์-จิตใจ,  ด้านสังคม
-  การร้องเพลง  การท่องคำคล้องจอง  การทำท่าทางประกอบ
-  การฟังนิทาน  การเล่านิทาน
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น  เล่นกับเพื่อน  เล่นกับครู  เล่นเครื่องเล่น  ฯลฯ
-  การเล่น  การเก็บของเล่น
-  การแบ่งปัน   การรอคอย
-  การบอกความรู้สึก  ความต้องการ
-  การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
-  การรู้บทบาทหน้าที่
-  ฯลฯ

ด้านสติปัญญา
- การรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  ในการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัว
-  การใช้ภาษาสื่อความหมาย  และความคิด
-  การรู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ เช่น  สี  ขนาด  รูปร่าง  เป็นต้น
-  การจดจำชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ  ได้แก่  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวหนัง
-  การสนทนาถาม-ตอบ
-  การอธิบาย  การนำเสนอสิ่งที่ทำหรือคิด
-  เกมการศึกษา
-  การทดลอง  ฯลฯ


 Web เชื่อมโยงหน่วย “ นักประดิษฐ์น้อยกับของเล่นแสนสนุก ” กับ 4 สาระพื้นฐาน

ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบ
-  อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ
-  อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
- ท่าทาง  สีหน้า  อารมณ์
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง
- เขียนประโยคตามตัวอย่าง
ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง 
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

ตารางวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้

ตัวเรา
       รู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง  หน้าตา  รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว  หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  และมารยาทที่ดี
หน่วยสาระ
1.  หน่วยร่างกาย
2.  หน่วยเด็กดี
3.  หน่วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.  หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
5. หน่วยอาหาร

บุคคลและสถานที่
           เด็กควรมีโอกาสได้รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  สถานศึกษา  ชุมชน  รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิต ประจำวัน

หน่วยสาระ
1.  หน่วยครอบครัว
2.  หน่วยโรงเรียน
3.  หน่วยชุมชน
4.  หน่วยบุคคลสำคัญ
5.  หน่วยเมืองไทย
6.  หน่วยวันสำคัญ  เช่น  วันพ่อ  วันแม่  วันครู  วันเด็ก ฯลฯ

ธรรมชาติรอบตัว
    เด็กควรได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มี ชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

หน่วยสาระ
1.  หน่วยสัตว์
2.  หน่วยผีเสื้อ
3.  หน่วยน้ำ
4.  หน่วยพืช  ผัก  ผลไม้
5.  หน่วยดอกไม้
6.  หน่วยอากาศ
7.  หน่วยกลางวัน  กลางคืน
8.  หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา
9.  หน่วยฤดูกาล
10.  หน่วยตาวิเศษ
สิ่งต่างๆ รอบตัว
      เด็กควรได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว  สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะ  และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิต ประจำวัน

หน่วยสาระ
1.  หน่วยการคมนาคม
2.  หน่วยการสื่อสาร
3.  หน่วยพลังงาน
4.  หน่วยวิทยาศาสตร์
5.  หน่วยคณิตศาสตร์
6.  หน่วยเครื่องมือเครื่องจักร
7.  หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน
8.  หน่วยของเล่น  ของใช้