Week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจ สามรถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นของเล่น พร้อมทั้งรู้จักวิธีทำ วิธีการเล่น รู้ข้อดีข้อเสียของวัตถุดิบที่นำมาปั้น นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม (คณิตศาสตร์ : การตวง )

Week
                      lnput         
                      Process
Output
Outcome
7
20 - 24 . 60
โจทย์ :
ปั้นๆ เมืองของเล่น          
 Key  Questions
 ของเล่นจากการปั้นทำได้อย่างไร
เราจะเล่น/เก็บ/ดูแลของเล่นจากการปั้นอย่างไร
ข้อดี/ข้อเสีย  ของเล่นจากการปั้น
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากการปั้น
Show and Learn : 
นำเสนอของเล่นที่ชอบ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- สื่อจริง “ดินญี่ปุ่น  แป้งโดว์
ดินเหนียว”










วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “มือของหนู”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ในเพลงมือใช้ทำอะไรบ้าง, ฟังเพลงแล้วรู้สึกอย่างไร,นักเรียนอยากจะใช้มือที่แข็งแรงทำอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ร้องและได้ฟัง
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าของเล่นจากการปั้นมีอะไรบ้าง, มีวิธีการปั้นอย่างไร, อยากปั้นเป็นอะไรมากที่สุด เพราะอะไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากการปั้น
ใช้ :
นักเรียนออกแบบของเล่นที่ชอบลงในสมุด
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :                                    
- ครูนำ แป้งอเนกประสงค์ สีผสมอาหาร น้ำ เกลือป่น น้ำมันพืช น้ำมะนาว มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, นักเรียนคิดว่าสิ่งของทั้งหมดนี้เอามาทำอะไรได้บ้าง, สามารถนำไปทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง และจะทำได้ด้วยวิธีใด? ”
เชื่อม :                        
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
ใช้ :
- นักเรียนทำแป้งโดว์
- นักเรียนปั้นแป้งโดว์ให้เป็นของเล่นที่ได้ออกแบบ
- นักเรียนทดลองเล่นของเล่นจากการปั้นแป้งโดว์
- นักเรียนสอบถามวิธีการทำดินญี่ปุ่นจากผู้ปกครอง พร้อมเตรียมอุปกรณ์ (การบ้าน)
วันพุธ (1ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ของเล่นที่หายไป”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ในนิทานเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง, นักเรียนฟังนิทานแล้วรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :       
- ครูนำ แป้งอเนกประสงค์ เกลือ กาวน้ำ น้ำ เบบี้ออย สิ่งของที่นักเรียนเตรียมมา มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร, สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง, ถ้าไม่มีสิ่งของนี้สามารถใช้อะไรแทนได้, การทำดินญี่ปุ่นมีวิธีแลขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำดินญี่ปุ่น
- ครูและนักเรียนสร้างข้อตกลงร่วมกัน
ใช้ :             
- นักเรียนทำดินญี่ปุ่น
- นักเรียนปั้นดินญี่ปุ่นเป็นของเล่นที่ชอบและเล่นร่วมกัน
- นักเรียนสอบถามเกี่ยวกับการทำของเล่นจากดินเหนียวและวิธีเก็บรักษาของเล่นจากผู้ปกครองพร้อมเตรียมอุปกรณ์ (การบ้าน)
วันพฤหัสบดี (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนอยากปั้นดินเหนียวให้เป็นอะไร เพราะอะไร, มีวิธีและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง, นอกจากปั้นเป็นของเล่นได้แล้วยังสามารถนำดินเหนียวไปทำอะไรได้อีกบ้าง?”
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำดินเหนียวมาปั้นเป็นของเล่นต่างๆ
ใช้ :
- นักเรียนปั้นของเล่นต่างๆ จากดินเหนียว
- นักเรียนนำเสนอวิธีการทำของเล่นและวิธีการเล่น
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, นักเรียนได้ทำของเล่นอะไรบ้าง, นักเรียนมีวิธีการเล่นของเล่นและเก็บรักษาของเล่นจากการปั้นอย่างไรบ้าง, นักเรียนจะสร้างโมเดลของเล่นจากการปั้นได้อย่างไร สร้างให้เป็นแบบไหน?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
- นักเรียนสร้าง Model เมืองของเล่นจากการปั้น
- นักเรียน Show and Learn ของเล่นจากการปั้นที่ชอบ
ภาระงาน
พูดคุยสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิทานและเพลงที่ได้ฟัง
- ร่วมกันทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- ร่วมกันปั้นของเล่นที่ชอบจากดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- ร่วมกันนำของเล่นที่ปั้นมาจัด Model จำลองเป็นเมืองของเล่น
- Show  and  Lean ของเล่นที่ชอบ
ชิ้นงาน
- นักเรียนวาดภาพของเล่นที่ชอบลงในสมุด
- ของเล่นจากดินญี่ปุ่น แป้งโดว์ ดินเหนียว
- Model จำลองเมืองของเล่น
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามรถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นของเล่น พร้อมทั้งรู้จักวิธีทำ วิธีการเล่น รู้ข้อดีข้อเสียของวัตถุดิบที่นำมาปั้น นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  (คณิตศาสตร์ : การตวง )
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้








ภาพชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 7 พี่อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเล่นจากการปั้น ซึ่งพี่ๆ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นคือจะนำอะไรมาปั้นให้เป็นของเล่น พี่ไดมอนด์ : ดินน้ำมัน พี่วันใหม่ : ดินเหนียว พี่กาแฟ : ดินดำ พี่อ๋อมแอ๋ม : แป้งโดว์ พี่หนูดี : ดินญี่ปุ่น พี่ฮิว : ดินน้ำมัน พี่อิม: ปูน จากนั้นพี่ๆ ได้ออกแบบของเล่นที่ชื่นชอบเพื่อที่จะนำมาปั้นแต่ก่อนที่จะปั้นพี่ๆ ได้ช่วยกันเลือกว่าจะปั้นของเล่นจากอะไร ของเล่นชิ้นแรกปั้นจากแป้งโดว์ ชิ้นที่สองปั้นจากดินญี่ปุ่นและชิ้นที่สามปั้นจากดินเหนียว พี่อนุบาล 2 ได้ช่วยกันทำดินที่จะปั้นขึ้นมาเอง เตรียมอุปกรณ์และลงมือทำเอง จากการลงมือทำก็เกิดเป็นคำถามและปัญหาว่าทำไมพี่เขาเหลว พี่เขาติดมือ พี่เขาสีไม่สวยและเริ่มเรียนรู้จากการลงมือทำ แก้ปัญหาไปเรื่อยๆ ด้วยกัน จากการลงมือทำสังเกตเห็นได้ว่าพี่ๆ สนใจและอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นอยากเรียนรู้และเกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรม เมื่อได้ของเล่นจากการปั้นเรียบร้อยแล้วพี่ๆ ได้สร้าง Model เมืองของเล่นของกลุ่มตนเองขึ้นมา ระหว่างที่สร้าง Model เมืองของเล่นสังเกตเห็นว่าความร่วมมือในกลุ่มเกิดขึ้นเพราะไม่มีการแบ่งแยกว่าสิ่งนี้ของฉัน อันนั้นเธอ สร้างอย่างตั้งใจเพราะเป็นผลงานของกลุ่มตนเอง ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 เกิดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่ครูเป็นผู้มอบให้ แต่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พี่ๆ ทุกคนทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ