Week 8


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถวางแผน ออกแบบชุดพร้อมทั้งแสดงบทบาทสมมติให้ผู้อื่นเข้าใจ (ศิลปะ : ออกแบบ การเลือกวัสดุ) (คณิตศาสตร์ : การวัด ขนาด รูปร่าง)

Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
8
27 .พ  - 3 มี. 60
โจทย์ :
บทบาทสมมุติ  (เล่นสมมุติ)
(ประดิษฐ์ชุดตัวละครจากวัสดุเหลือใช้)      
 Key  Questions
เราอยากแปลงร่างเป็นอะไร/ทำได้อย่างไร
-  เราจะเล่นกับผู้อื่นได้อย่างไร
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์ชุดตัวละครจากวัสดุเหลือใช้
Show and Learn : 
นำเสนอชุดตัวละครจากวัสดุเหลือใช้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- เกม “ประเภทของวัสดุ”
- เรื่องเล่าตัวละครที่ชื่นชอบ
- สื่อจริง “ชุดจากวัสดุเหลือใช้”











วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่าเรื่องราวตัวละครที่ชื่นชอบในวัยเด็กให้นักเรียนฟังเพื่อสร้างแรง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ถ้านักเรียนแปลงร่างได้ นักเรียนอยากแปลงร่างเป็นใคร เพราะอะไร?”
เชื่อม :       
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะออกแบบและวางแผนชุดตัวละครได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบและอยากเป็น
ใช้ :
- นักเรียนออกแบบชุดตัวละครที่ชื่นชอบลงในสมุด
- นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นชุดตัวละครที่ชอบตามที่นักเรียนได้วางแผนและออกแบบไว้ (การบ้าน)
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :                            
- ครูนำชุดตัวละครที่ทำจากวัสดุเหลือใช้มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, สิ่งของที่นักเรียนเตรียมมานำไปทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง? ”
เชื่อม :                        
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าวัสดุเหลือใช้คืออะไร, สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นอะไรได้บ้าง, จะนำไปใช้อย่างไร, มีวิธีไหนที่จะทำให้วัสดุเหลือใช้มีค่าและใช้ได้จริง?”
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำมาประดิษฐ์และเพิ่มมูลค่าพร้อมใช้ได้จริง
ใช้ :
- นักเรียนเขียนอุปกรณ์และชื่อชุดตัวละครที่ชื่นชอบลงในสมุด
- นักเรียนสอบถามเกี่ยวกับอุปกรณ์และการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นชุดตัวละครที่ชอบ (การบ้าน)
วันพุธ (1ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนเล่นเกม “ประเภทของวัสดุ” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่สิ่งประดิษฐ์ที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าสิ่งไหนคือวัสดุเหลือใช้บ้าง, นำไปประดิษฐ์เป็นอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมประเภทของวัสดุที่ได้เล่นไป
ใช้ :
- นักเรียนนำเสนอชุดตัวละครที่ออกแบบไว้พร้อมทั้งบอกอุปกรณ์ที่นำมาทำ
- นักเรียนสอบถามเกี่ยวกับวิธีการประดิษฐ์ชุดตัวละครที่ออกแบบไว้พร้อมเตรียมอุปกรณ์ (การบ้าน)
วันพฤหัสบดี (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำอุปกรณ์ที่นักเรียนเตรียมมา มาให้สังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมี อุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ชุดตัวละครอย่างไรบ้าง, มีวิธีการเล่นและการดูแลรักษาอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นชุดตัวละคร
ใช้ :
- นักเรียนประดิษฐ์ชุดตัวละครจากวัสดุเหลือใช้
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
  นักเรียน Show and Learn ละครของตนเอง
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้ที่นักเรียนรู้จัก
- ร่วมกันวางแผนออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบ
- ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบ
- นำเสนอในการออกแบบชุดของตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบเพื่อนช่วยเสนอแนะ เพิ่มเติม
- ร่วมกันประดิษฐ์ชุดของตัวละครที่ออกแบบไว้พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
- Show  and  Lean ชุดตัวละครของแต่ละคน
ชิ้นงาน
- วาดภาพออกแบบชุดตัวละครลงในสมุด
- ชุดตัวละครที่ชอบและอยากเป็น
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถวางแผน ออกแบบชุดพร้อมทั้งแสดงบทบาทสมมติให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ศิลปะ : ออกแบบ การเลือกวัสดุ)
(คณิตศาสตร์ : การวัด ขนาด รูปร่าง)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 8 พี่อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องบทบาทสมมติ การประดิษฐ์ชุดตัวละครที่ชื่นชอบจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งพี่ๆ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของการเย็บหนังสือนิทานผ้ามาแล้วจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายที่พี่อนุบาล 2 จะใช้เข็มเย็บผ้าเย็บของที่ชิ้นใหญ่ขึ้นและต้องทำออกมาตามแบบที่ตนเองวางแผนและออกแบบไว้ แต่ก่อนที่จะได้ชุดออกมาพี่อนุบาล 2 เกิดคำถามว่า “วัสดุเหลือใช้คืออะไรครับ” พี่ไดมอนด์ : กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษหน้าเดียวครับ พี่วันใหม่ : เศษผ้าที่เราไม่ใช้แล้ว พี่จินจู : ผ้าอ้อมที่เราไม่ใช้แล้วค่ะ พี่อ๋อมแอ๋ม : ผ้าถุงเก่าคุณยายและเสื้อผ้าเก่าที่เราใส่ไม่ได้แล้วค่ะ พี่สายไหม : ขวดน้ำพลาสติกกับถุงพลาสติกค่ะ พี่กาแฟ : ใบไม้ พี่อิม : กระสอบปุ๋ยค่ะ พี่ๆ ทุกคนเยี่ยมมาก จากนั้นเมื่อรู้แล้วทุกคนได้ออกแบบชุดและเตรียมอุปกรณ์พร้อมกับลงมือประดิษฐ์ชุดของตัวเองอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ความงอกงามของพี่อนุบาล 2 คือเมื่อได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายจะมุ่งมั่นตั้งใจและมีความรับผิดชอบต่อชิ้นงานของตนเอง ต้องทำให้ได้ชิ้นงานออกมาด้วยความพยายามและความสามารถของตนเอง ในสัปดาห์นี้มีพี่หลายคนที่ได้ชิ้นงานออกมา ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 เกิดการเรียนรู้ที่มากขึ้น รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองเมื่อทำสิ่งนี้ไม่ได้พี่ๆ แก้ปัญหาโดยการสอบถามผู้ปกครอง ครูซึ่งเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำพร้อมทั้งยังเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พี่ๆ ทุกคนทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ